มองแนวคิด “ รักษ์โลก “ ในการจัดโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น

นอกเหนือจาก ความยินดี กับ “น้องเทนนิส” พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ แชมป์เหรียญทองเทควันโดหญิง ในโอลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แนวคิดอนุรักษ์ และการรีไซเคิลต่างๆ ที่ถูกนำมาปรับใช้ในองค์ประกอบของการจัดงานครั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นสถานที่  หรือเหรียญรางวัล  ทุกอย่างถูกจัดทำด้วยความคิดประณีต เพื่อแสดงให้เห็นการนำใช้ได้จริง และการให้ความสำคัญกับการนำใช้ใหม่ หรือนำใช้ต่อ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่น่าเป็นตัวอย่าง ยกนิ้วให้ Tokyo Olympic 2020-2021 มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง!

1.the Tokyo 2020 Olympic Games’ athletes village Plaza

อาคาร Village Plaza จัดสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านนักกีฬาในโอลิมปิกโตเกียว 2020

เป็นทั้งที่พักผ่อนและที่รวมตัวของนักกีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกจากทั่วทุกมุมโลก มีพื้นที่ขนาด 5,300 ตร.ม. โครงสร้างหลัก ทำจากไม้สนชซีดาร์ และสนไซเปรสของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับบริจาครวมจำนวน 40,000 ชิ้น 

รูปแบบอาคาร ถูกออกแบบในแนวคิดอนุรักษ์เพื่อการนำใช้ต่อ เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด สร้างความร่วมมือ และความทรงจำร่วมกันของชาวญี่ปุ่น ในฐานะเจ้าภาพงานโอลิมปิด โดยการขอความร่วมมือจาก 63 หน่วยงานเทศบาลญี่ปุ่น ร่วมกันส่ง “ไม้” สี่หมื่นท่อนนี้ เพื่อมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างพลาซ่า

ไม้แต่ละท่อนจะมีชื่อของเทศบาลที่เป็นผู้บริจาคประทับไว้ ซึ่งเมื่อใช้งานเสร็จหลังเกม พลาซ่าจะถูกรื้อถอน และไม้ดังกล่าวจะถูกส่งคืนไปยังเทศบาลที่บริจาค เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในสถานที่ต่างๆ ในท้องถิ่น เพื่อช่วยเป็นการระลึกถึงการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ โดยอาจถูกนำไปสร้างใหม่เป็น ม้านั่งสาธารณะหรือบางส่วนของอาคารเรียน ซึ่งแล้วแต่ท้องถิ่นจะมีนโยบายนำใช้ใหม่ต่อไป

2.The beds with frames made of cardboard

ออกแบบโดยJapanese bedding company Airweave

ชมคลิปจากtiktok.com/@tillykearns/video/6986541676776951046?is_copy_url=1&is_from_webapp=v1

เตียงนอนนักกีฬาจากโครงกระดาษแข็ง

บริษัท Airweave ได้สร้างเตียงและที่นอนจำนวน 18,000 เตียงสำหรับนักกีฬาในโอลิมปิก 2021 ซึ่งโครงเตียงทำมาจากกระดาษแข็งรีไซเคิล ออกแบบให้มีน้ำหนักเบามากและประกอบง่าย เพื่อให้การย้ายเตียงระหว่างสถานที่ต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เตียงมีขนาด 6 ฟุต 11 นิ้ว และสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 440 ปอนด์  และที่นอนฟูก ถูกผลิตจากเส้นใยโพลีเอทิลีนสามารถรีไซเคิลได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

นอกจากวัสดุจะรีไซเคิลแล้ว เตียงยังจะมีการนำใช้ซ้ำเพื่อความคุ้มค่า โดยขั้นต้นจะถูกส่งให้นักกีฬาโอลิมปิกใช้ก่อน หลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โครงเตียงจำนวน 8,000 ชิ้นจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ให้กับนักกีฬาพาราลิมปิก และหลังจบการแข่งขันทั้งสองเกม เตียงจะถูกบริจาคให้กับองค์กรระดับชาติ เพื่อลดการถูกทิ้งเป็นขยะ

3.The Olympic 2021 torches คบเพลิงโอลิมปิค2020

ออกแบบโดย Tokujin Yoshioka

คบเพลิงทำมาจากขยะที่นำมาจากที่อยู่อาศัยชั่วคราวซึ่งสร้างขึ้นภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นในปี 2011  ขยะโลหะถูกนำมาอัดรีด ผลิตเป็นคบเพลิงสีโรสโกลด์ขนาด 71 เซนติเมตร โดยด้านบนดัดทรงเป็นสัญลักษณ์ดอกซากุระดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น และตัวเปลวไฟโอลิมปิก ถูกเลือกใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่ปล่อยมลภาวะในสิ่งแวดล้อม แทนก๊าซจากฟอสซิล

4.รถยนต์ไฟฟ้า e-palette ออกแบบโดย Toyota

รถขนส่งนักกีฬาในหมู่บ้านโอลิมปิก แบบ e-Palette อัตโนมัติและใช้ไฟฟ้า โดยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยมลพิษ โดยปรับรูปแบบเพิ่ม ขยายประตู ลดระดับ และเพิ่มทางลาดไฟฟ้าเพื่อให้ผู้โดยสาร โดยเฉพาะผู้ใช้รถเข็นสามารถขึ้นเครื่องได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อการเดินทางที่สะดวกสบาย

5.Olympic 2021 Medals เหรียญรางวัลโอลิมปิค2021

ออกแบบโดย Junichi Kawanishi

การออกแบบเหรียญรางวัลชนะเลิศมาจากการแข่งขันผลงานการออกแบบจากนักออกแบบมืออาชีพและนักศึกษาด้านการออกแบบมากกว่า 400 คน ผู้ชนะคือ นักออกแบบชาวญี่ปุ่น Junichi Kawanishi ที่ใช้การสกัดโลหะมีค่าจากโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าและขยะอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ นำมาสร้างวงแหวนที่สะท้อนแสงคล้ายริบบิ้นรอบเหรียญโอลิมปิกโตเกียว 2020 และ พาราลิมปิก

การทำเหรียญรางวัลจากวัสดุรีไซเคิลนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน และอื่นๆ โดยจัดหามาได้มากขึ้น 80 ตันจากทุกเมืองทั่วประเทศ แล้วนำมาเข้ากระบวนการสกัดแร่ทอง เงิน และทองคำ
ชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ซึ่งแร่ที่สกัดออกได้มีปริมาณดังนี้ ทองคำสกัดออกมาได้ 32 กิโลกรัม เงิน 3,492 กิโลกรัม และทองแดง 2,200 กิโลกรัม

*กล่องใส่เหรียญที่ผลิตจากไม้แอชญี่ปุ่นย้อมสี ออกแบบโดย Shinya Yoshida.

6.Olympic uniform with Recycle material : ชุดยูนิฟอร์มด้วยวัสดุรักษ์โลก

ออกแบบโดย The Tokyo Olympic Association/Nike

สมาคมโอลิมปิกแห่งโตเกียว ออกแบบยูนิฟอร์มแบบ unisex ของผู้ถือคบเพลิงที่ถือเปลวไฟโอลิมปิกที่งานวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 ออกแบบภายใต้ธีม “hope lights our way” เสื้อยืดสีขาวและกางเกงขายาว วัสดุที่ถูกทำจากขวดพลาสติก Coca-Cola รีไซเคิล

นอกจากนี้ Nike ยังได้ออกแบบชุดนักกีฬาหลายประเภท โดยใช้โพลีเอสเตอร์รีไซเคิลจากขวดพลาสติกและไนลอน เศษยางและเส้นด้าย รีไซเคิลจากโรงงานในการสร้างชุด เช่น เสื้อผ้านักกีฬาฟุตบอลสำหรับทีมอเมริกัน เกาหลี และไนจีเรีย ชุด เสื้อผ้านักกีฬาทีมบาสเกตบอลชายและหญิงของสหรัฐฯ และ ชุดสเกตบอร์ด สำหรับสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และบราซิล

7.Olympic 2020 Podiums โพเดียมรับรางวัล

ออกแบบโดย Asao Tokolo

โพเดียมรับรางวัล แท่นสีน้ำเงิน ฉลุลายเรขาคณิตแบบสามมิติ แล้วปิดท้ายด้วยสัญลักษณ์ 5 ห่วงตรงกลาง สำหรับผู้ชนะในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 98 ตัว ทำจากขยะพลาสติกรีไซเคิลได้จากเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น พลาสติกในครัวเรือนทิ้ง เช่น ขวดน้ำยาซักผ้า ที่มีการบันทึกว่า มีจำนวนกว่า 400,000 ขวด เพื่อสร้างโพเดียมทั้งหมด งานออกแบบสร้างสรรค์ โดยศิลปินชาวญี่ปุ่น Asao Tokolo ซึ่งได้รวบรวมพลาสติกนำมารีไซเคิลวัสดุและเปลี่ยนเป็นเส้นใยในการพิมพ์ลาย 3 มิติบนแท่น

“Engaging the whole country and prioritizing environmental sustainability is a core pledge of the Tokyo 2020 Games,”

ส่วนหนึ่งในคำกล่าวของ รองประธานจัดงานโอลิมปิค Tokyo 2020

Vice President Toshiaki Endo.

ขอบคุณข้อมูลและภาพอ้างอิงจาก

www.dezeen.com/
https://tokyo2020.org/en/news
https://olympics.com/tokyo-2020/en/news
https://www.cnbc.com/

Similar Posts