FAQ

งานระบบสารสนเทศและระบบเครือข่าย

การเปลี่ยนรหัสผ่าน

เปลี่ยนรหัสผ่านการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์อะไร

เว็บไซต์ http://chgpwd.dusit.ac.th

ถ้าไม่เปลี่ยน Password จะเกิดอะไรขึ้น

ไม่ปลอดภัยเนื่องจากรหัสผ่านเริ่มต้นเป็น วัน เดือน ปีเกิด

ถ้าลืม Password จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง แล้วถ้าเข้าผิดซ้ำกันหลายรอบจะถูกบล๊อคไหม

หากลืมรหัสผ่านสามารถ Reset รหัสผ่านใหม่ได้ที่ http://chgpwd.dusit.ac.th เลือกหัวข้อลืมรหัสผ่าน

กรณีเปลี่ยนรหัสแล้วลืมจะต้องทำอย่างไร

หากลืมรหัสผ่านสามารถ Reset รหัสผ่านใหม่ได้ที่ http://chgpwd.dusit.ac.th เลือกหัวข้อลืมรหัสผ่าน

การเข้าใช้งาน WIFI

การเข้าใช้งาน Wi-Fi บนอุปกรณ์ android และ iOS ต่างกันไหม

ไม่แตกต่างในการเข้าใช้งาน เพียงแต่ในการใช้ Dusit-Secure มีการตั้งค่าที่ต่างกัน โดยสามารถหาวิธีคู่มือการตั้งค่าและใช้งานได้จากเว็บ http://network.dusit.ac.th/web/services/wifi/ หัวข้อการตั้งค่าอุปกรณ์

นักศึกษาได้ความเร็วจาก Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยเท่าไร

ความเร็วอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน เช่น ปริมาณอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน ณ ขณะนั้น หากมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมากอาจทำให้ความเร็วอินเตอร์ลดลงขึ้นอยู่กับระยะห่างนะหว่างอุปกรณ์กระจายสัญญาณกับผู้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สายดังตาราง ที่ 1

มาตรฐาน คลื่นความถี่ อัตราความเร็วของข้อมูล
802.11b 2.4-2.8 GHz 11 Mbps
802.11g 2.4-2.8 GHz 36-54 Mbps
802.11n 2.4-5 GHz 300-450 Mbps

ดังตาราง ที่ 1  มาตรฐานการรองรับ คลื่นความถี่ และอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล

จำกัดจำนวนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อ 1 Username ไหม

1 Username สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกัน เช่น สามารถใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์ พร้อมกับ Notebook ได้โดยใช้ Username เดียวกัน

เข้าใช้งาน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยแล้วไม่มีให้ใส่ Password

สามารถศึกษาวิธีการตั้งค่าและใช้งานได้จากเว็บ http://network.dusit.ac.th/web/services/wifi/ หัวข้อการตั้งค่าอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์มาให้เจ้าหน้าที่งานระบบสารสนเทศ อาคาร 11 ชั้น 2 ช่วยวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

การแก้ปัญหาเบื้องต้นในการเข้าใช้งาน WIFI สำหรับผู้ดูแลระบบ (ประชาสัมพันธ์)

1.สอบถามอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ WIFI เช่น โทรศัพท์มือถือ, Notebook, เครื่อง PC, Tablet

2.สอบถาม SSID ที่ผู้ใช้บริการ connect เช่น Dusit, Dusit-Secure, Dusit-Guest, SDU-AIS

3.สอบถามบริเวณที่ใช้บริการ

4.สอบถาม Username และ Password ที่ใช้งาน เนื่องจากอาจใส่ผิด

5.แจ้งผู้ใช้บริการให้สังเกตุ Access Point ที่ใกล้ที่สุด

6.สังเกตุไฟที่ Access Point ว่าเป็นลักษณะไหนระหว่างไฟติดนิ่ง กับไฟกระพริบ  (มี 2 สี คือ สีฟ้าและสีเขียว)

7.หากไฟที่ Access Point กระพริบ แสดงว่าจุดบริการตรงนั้นเสีย ควรแจ้งผู้ดูแลระบบทันที และขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ

8.หากแก้ไขทุกอย่างตามข้างต้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ ส่ง case ไปยังผู้ดูแลระบบ

การแก้ปัญหาเบื้องต้นในการเข้าใช้งาน WIFI สำหรับผู้ดูแลระบบ (admin)

2.1 กรณี Access Port :AP  ไฟ LCD ดับ หรือไม่ติด
สาเหตุ
การแก้ปัญหา เบื้องต้น
  1. สาย  Lan  ชำรุด หรือ จุดเสียบ ไม่แน่น
  2. POE ชำรุด
  3. สาย Lan ไม่ได้ต่อ เข้ากับ Switch
  4. Switch ดับ
  1. ถอด Access Port :AP จากสาย Lan แล้วเสียบใหม่
  2. ตรวจ สอบอุปกรณ์ POE สาย Lan ใหม่
  3. ตรวจสอบ Switch และ จุดที่ เสียบสาย Lan ของ Access Port :AP  ว่าทำงานปรกติหรือไม่
  4. ประสานงานติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ
2.2  กรณี Access Port :AP  ไฟ LCD ติด กระพริบ
สาเหตุ
การแก้ปัญหา เบื้องต้น  
  1. อุปกรณ์ Switch ไม่ได้ IP Addres
  2. เสียบสาย Lan ที่ช่อง POE ผิด
  1. ปิด เปิด Switch.ใหม่
  2. ทดสอบว่า Switch ใช้งาน internetได้หรือไม่ หรือตรวจสอบจุดที่สายที่ Uplink ส่วนมากอยู่จุดเสียบสายท้ายๆ หรือใช้เป็นสายไฟเบอร์
  3. ตรวจ สอบอุปกรณ์ POE สาย Lan ใหม่

บริเวณจุดให้บริการ Access Point ภายในมหาวิทยาลัย วิทยาเขต และศูนย์การศึกษาฯ

ความแตกต่างระหว่างการใช้งาน SSID ชื่อ Dusit และ Dusit-Secure

Dusit-Secure เป็นระบบ Wi-Fi ที่ใช้การตั้งค่าบนอุปกรณ์สำหรับการพิสูจน์ตัวตนหรือระบุชื่อผู้ใช้งานกับรหัสผ่านก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต
ข้อดี
ข้อเสีย
ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ครั้งแรกครั้งเดียว หรือจนกว่าอุปกรณ์จะทำการตั้งค่าอุปกรณ์ใหม่
ต้องตั้งค่าในการใช้งานในอุปกรณ์ที่จะใช้งานในครั้งแรก
มีความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
การตั้งค่าในแต่ละอุปกรณ์และในแต่ละระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน
มีความสะดวกในการใช้งานสามารถเชื่อมต่อระบบ Wi-Fi อัตโนมัติ ทุกพื้นที่ที่รองรับ Dusit-Secure
ในการใช้งาครั้งแรกผู้ใช้งานต้องเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเองที่ chgpwd.dusit.ac.th
เหมาะกับอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายในการทำงานบ่อย เช่น Notebook หรือ อุปกรณ์ประเภทโมบาย
Dusit เป็นระบบ Wi-Fi ที่ต้องทำการพิสูจน์ตัวตนหรือระบุชื่อผู้ใช้งานกับรหัสผ่าน ทางหน้าเว็บไซต์ก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต
ข้อดี
ข้อเสีย
ไม่ต้องตั้งค่าในการใช้งานเพียงเลือกใช้งาน Wi-Fi ที่ชื่อ Dusit พร้อมกับระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password)
ต้องระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ทุกครั้งที่ใช้งานและทุกครั้งที่ย้ายพื้นที่ในการใช้งาน
ถ้าหน้าเว็บไซต์สำหรับระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ไม่ขึ้น ตอนเลือกWi-Fi ที่ชื่อ Dusit ผู้ใช้งานต้องเข้าไปที่ wifi.dusit.ac.th เพื่อระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต

การเข้าใช้งาน e-Book

Dusit eBook ใช้งานอย่างไร

หนังสือ ebook สามารถเข้ามาที่ website http://elibrary.dusit.ac.th สามารถเลือกโหลดตามอุปกรณ์ ได้ เช่น IOS Android และ Windows คู่มือการใช้งานสามารถโหลดได้จากทาง website

Dusit eBook มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนทั้งหมดหรือไม่

ไม่ทั้งหมด มีรายละเอียดของหนังสือแยกตามหมวด คือ ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฏีนิพนธ์ หนังสือพระราชนิพนธ์ หนังสือหายาก สื่อสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัย วารสารวิจัย มสด ผลงานทางวิชาการ พ็อกเก็ตบุ๊ด นิตยสาร และ หนังสือทั่วไป

การเข้าใช้งาน WBSC-LMS

WBSC-LMS คืออะไรมีประโยชน์อย่างไร

ระบบ WBSC-LMS เป็นระบบ eLearning ของมหาวิทยาลัยมีไว้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียนเหล่านี้ได้ทุกที่ และทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน โดยนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเข้าไปในรายวิชาที่ตนเองมีสิทธิ์เข้าไปใช้งานได้เนื้อหาแต่ละรายวิชานั้นจะประกอบไปด้วย บทเรียนต่างๆ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม แบบฝึกหัด การบ้านรวมไปถึงแบบทดสอบต่างๆซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาจารย์เจ้าของรายวิชาเป็นคนกำหนด ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://wbsc.dusit.ac.th

วิธีการทำแฟ้มสะสมผลงานทำอย่างไร

สำหรับวิธีทำแฟ้มสะสมผลงาน คู่มือการใช้งานสำหรับนักศึกษาอยู่ระหว่างการจัดทำแต่นักศึกษาสามารถอ่านคู่มือการใช้งานเวอร์ชั่นสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยได้ที่ https://wbsc.dusit.ac.th ในส่วนของ Main Menu

แฟ้มสะสมงาน เพื่อนและบุคคลอื่นสามารถมองเห็นได้ไหม

เพื่อนและบุคคลอื่นสามารถมองเห็นได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการว่าเราจะอนุญาติให้คนอื่นเห็นได้หรือไม่ซึ่งสามารถกำหนดได้จากระบบว่าแฟ้มสะสมผลงานหน้าไหนจะอนุญาตให้คนกลุ่มใดสามารถเห็นได้บ้างเช่น กำหนดให้เห็นเฉพาะกลุ่ม เฉพาะรายบุคคล หรือเปิดเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปเห็นได้

งานห้องสมุด

ถ้าต้องการยืมหนังสือในห้องสมุดผ่าน App ได้หรือไม่

ยืมหนังสือเล่มจริงผ่าน web ไม่ได้ แต่จองหนังสือผ่านเว็บไซต์และมารับภายหลังได้

สามารถยืมหนังสือได้นานกี่วันและสูงสุดจำนวนกี่เล่ม

  1. หนังสือสามารถยืมได้ 10 วัน และยืมต่อ(Renew)ได้ 1 ครั้ง = 7 วัน
  2. ยืมหนังสือได้ จำนวน 5 เล่ม

วิธีการยืมหนังสือทำอย่างไร

การยืมหนังสือมี 2 วิธี ดังนี้

  1. เคาน์เตอร์บริการยืมคืน (บริเวณชั้น2)
  2. ยืมหนังสือได้ด้วยตนเองผ่านเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ (Self Check Book) (บริเวณชั้น 1 หน้าลิฟต์)
    • ผู้ใช้บริการยืม – คืน ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ยืม – คืน (สำนักวิทยบริการ ชั้น 2)
    • เจ้าหน้าที่จะให้บริการยืม – คืน เฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวเท่านั้น

ศูนย์วิทยาศาสตร์มีห้องสมุดหรือไม่

ศูนย์วิทยาศาสตร์ให้บริการห้องสมุดที่อาคารที่พักหญิงศูนย์วิทยาศาสตร์ ชั้น 2

การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายนอก

  1. ผู้รับบริการการจะต้องทำการ access เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยก่อนทุกครั้ง หรือเรียกว่าวิธีการ VPN ดังคู่มือการใช้งาน http://network.dusit.ac.th/web/services/vpn/
  2. สังเกตุชื่อผู้ใช้งานเป็น “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” จะต้องปรากฏอยู่หน้าฐานข้อมูลนั้น