งานระบบสารสนเทศและระบบเครือข่าย
การเปลี่ยนรหัสผ่าน
เปลี่ยนรหัสผ่านการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์อะไร
เว็บไซต์ http://chgpwd.dusit.ac.th
ถ้าไม่เปลี่ยน Password จะเกิดอะไรขึ้น
ไม่ปลอดภัยเนื่องจากรหัสผ่านเริ่มต้นเป็น วัน เดือน ปีเกิด
ถ้าลืม Password จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง แล้วถ้าเข้าผิดซ้ำกันหลายรอบจะถูกบล๊อคไหม
หากลืมรหัสผ่านสามารถ Reset รหัสผ่านใหม่ได้ที่ http://chgpwd.dusit.ac.th เลือกหัวข้อลืมรหัสผ่าน
กรณีเปลี่ยนรหัสแล้วลืมจะต้องทำอย่างไร
หากลืมรหัสผ่านสามารถ Reset รหัสผ่านใหม่ได้ที่ http://chgpwd.dusit.ac.th เลือกหัวข้อลืมรหัสผ่าน
การเข้าใช้งาน WIFI
การเข้าใช้งาน Wi-Fi บนอุปกรณ์ android และ iOS ต่างกันไหม
ไม่แตกต่างในการเข้าใช้งาน เพียงแต่ในการใช้ Dusit-Secure มีการตั้งค่าที่ต่างกัน โดยสามารถหาวิธีคู่มือการตั้งค่าและใช้งานได้จากเว็บ http://network.dusit.ac.th/web/services/wifi/ หัวข้อการตั้งค่าอุปกรณ์
นักศึกษาได้ความเร็วจาก Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยเท่าไร
ความเร็วอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน เช่น ปริมาณอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน ณ ขณะนั้น หากมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมากอาจทำให้ความเร็วอินเตอร์ลดลงขึ้นอยู่กับระยะห่างนะหว่างอุปกรณ์กระจายสัญญาณกับผู้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สายดังตาราง ที่ 1
มาตรฐาน | คลื่นความถี่ | อัตราความเร็วของข้อมูล |
802.11b | 2.4-2.8 GHz | 11 Mbps |
802.11g | 2.4-2.8 GHz | 36-54 Mbps |
802.11n | 2.4-5 GHz | 300-450 Mbps |
ดังตาราง ที่ 1 มาตรฐานการรองรับ คลื่นความถี่ และอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล
จำกัดจำนวนเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อ 1 Username ไหม
1 Username สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกัน เช่น สามารถใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์ พร้อมกับ Notebook ได้โดยใช้ Username เดียวกัน
เข้าใช้งาน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยแล้วไม่มีให้ใส่ Password
สามารถศึกษาวิธีการตั้งค่าและใช้งานได้จากเว็บ http://network.dusit.ac.th/web/services/wifi/ หัวข้อการตั้งค่าอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์มาให้เจ้าหน้าที่งานระบบสารสนเทศ อาคาร 11 ชั้น 2 ช่วยวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาเบื้องต้นในการเข้าใช้งาน WIFI สำหรับผู้ดูแลระบบ (ประชาสัมพันธ์)
1.สอบถามอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ WIFI เช่น โทรศัพท์มือถือ, Notebook, เครื่อง PC, Tablet
2.สอบถาม SSID ที่ผู้ใช้บริการ connect เช่น Dusit, Dusit-Secure, Dusit-Guest, SDU-AIS
3.สอบถามบริเวณที่ใช้บริการ
4.สอบถาม Username และ Password ที่ใช้งาน เนื่องจากอาจใส่ผิด
5.แจ้งผู้ใช้บริการให้สังเกตุ Access Point ที่ใกล้ที่สุด
6.สังเกตุไฟที่ Access Point ว่าเป็นลักษณะไหนระหว่างไฟติดนิ่ง กับไฟกระพริบ (มี 2 สี คือ สีฟ้าและสีเขียว)
7.หากไฟที่ Access Point กระพริบ แสดงว่าจุดบริการตรงนั้นเสีย ควรแจ้งผู้ดูแลระบบทันที และขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ
8.หากแก้ไขทุกอย่างตามข้างต้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ ส่ง case ไปยังผู้ดูแลระบบ
การแก้ปัญหาเบื้องต้นในการเข้าใช้งาน WIFI สำหรับผู้ดูแลระบบ (admin)
2.1 กรณี Access Port :AP ไฟ LCD ดับ หรือไม่ติด
สาเหตุ |
การแก้ปัญหา เบื้องต้น |
|
|
2.2 กรณี Access Port :AP ไฟ LCD ติด กระพริบ
สาเหตุ |
การแก้ปัญหา เบื้องต้น |
|
|
บริเวณจุดให้บริการ Access Point ภายในมหาวิทยาลัย วิทยาเขต และศูนย์การศึกษาฯ
ความแตกต่างระหว่างการใช้งาน SSID ชื่อ Dusit และ Dusit-Secure
Dusit-Secure เป็นระบบ Wi-Fi ที่ใช้การตั้งค่าบนอุปกรณ์สำหรับการพิสูจน์ตัวตนหรือระบุชื่อผู้ใช้งานกับรหัสผ่านก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต |
|
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ครั้งแรกครั้งเดียว หรือจนกว่าอุปกรณ์จะทำการตั้งค่าอุปกรณ์ใหม่ |
ต้องตั้งค่าในการใช้งานในอุปกรณ์ที่จะใช้งานในครั้งแรก |
มีความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต |
การตั้งค่าในแต่ละอุปกรณ์และในแต่ละระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน |
มีความสะดวกในการใช้งานสามารถเชื่อมต่อระบบ Wi-Fi อัตโนมัติ ทุกพื้นที่ที่รองรับ Dusit-Secure |
ในการใช้งาครั้งแรกผู้ใช้งานต้องเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเองที่ chgpwd.dusit.ac.th |
เหมาะกับอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายในการทำงานบ่อย เช่น Notebook หรือ อุปกรณ์ประเภทโมบาย |
Dusit เป็นระบบ Wi-Fi ที่ต้องทำการพิสูจน์ตัวตนหรือระบุชื่อผู้ใช้งานกับรหัสผ่าน ทางหน้าเว็บไซต์ก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต |
|
ข้อดี |
ข้อเสีย |
ไม่ต้องตั้งค่าในการใช้งานเพียงเลือกใช้งาน Wi-Fi ที่ชื่อ Dusit พร้อมกับระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) |
ต้องระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ทุกครั้งที่ใช้งานและทุกครั้งที่ย้ายพื้นที่ในการใช้งาน |
ถ้าหน้าเว็บไซต์สำหรับระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ไม่ขึ้น ตอนเลือกWi-Fi ที่ชื่อ Dusit ผู้ใช้งานต้องเข้าไปที่ wifi.dusit.ac.th เพื่อระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านก่อนใช้งานอินเทอร์เน็ต |
ขั้นตอนการเข้าใช้งาน SSID ชื่อ Dusit-Guest
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ Access Point
การเข้าใช้งาน e-Book
Dusit eBook ใช้งานอย่างไร
หนังสือ ebook สามารถเข้ามาที่ website http://elibrary.dusit.ac.th สามารถเลือกโหลดตามอุปกรณ์ ได้ เช่น IOS Android และ Windows คู่มือการใช้งานสามารถโหลดได้จากทาง website
Dusit eBook มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนทั้งหมดหรือไม่
ไม่ทั้งหมด มีรายละเอียดของหนังสือแยกตามหมวด คือ ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฏีนิพนธ์ หนังสือพระราชนิพนธ์ หนังสือหายาก สื่อสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัย วารสารวิจัย มสด ผลงานทางวิชาการ พ็อกเก็ตบุ๊ด นิตยสาร และ หนังสือทั่วไป
การเข้าใช้งาน WBSC-LMS
WBSC-LMS คืออะไรมีประโยชน์อย่างไร
ระบบ WBSC-LMS เป็นระบบ eLearning ของมหาวิทยาลัยมีไว้สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียนเหล่านี้ได้ทุกที่ และทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน โดยนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเข้าไปในรายวิชาที่ตนเองมีสิทธิ์เข้าไปใช้งานได้เนื้อหาแต่ละรายวิชานั้นจะประกอบไปด้วย บทเรียนต่างๆ แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม แบบฝึกหัด การบ้านรวมไปถึงแบบทดสอบต่างๆซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาจารย์เจ้าของรายวิชาเป็นคนกำหนด ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://wbsc.dusit.ac.th
วิธีการทำแฟ้มสะสมผลงานทำอย่างไร
สำหรับวิธีทำแฟ้มสะสมผลงาน คู่มือการใช้งานสำหรับนักศึกษาอยู่ระหว่างการจัดทำแต่นักศึกษาสามารถอ่านคู่มือการใช้งานเวอร์ชั่นสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยได้ที่ https://wbsc.dusit.ac.th ในส่วนของ Main Menu
แฟ้มสะสมงาน เพื่อนและบุคคลอื่นสามารถมองเห็นได้ไหม
เพื่อนและบุคคลอื่นสามารถมองเห็นได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการว่าเราจะอนุญาติให้คนอื่นเห็นได้หรือไม่ซึ่งสามารถกำหนดได้จากระบบว่าแฟ้มสะสมผลงานหน้าไหนจะอนุญาตให้คนกลุ่มใดสามารถเห็นได้บ้างเช่น กำหนดให้เห็นเฉพาะกลุ่ม เฉพาะรายบุคคล หรือเปิดเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปเห็นได้
งานห้องสมุด
ถ้าต้องการยืมหนังสือในห้องสมุดผ่าน App ได้หรือไม่
ยืมหนังสือเล่มจริงผ่าน web ไม่ได้ แต่จองหนังสือผ่านเว็บไซต์และมารับภายหลังได้
สามารถยืมหนังสือได้นานกี่วันและสูงสุดจำนวนกี่เล่ม
- หนังสือสามารถยืมได้ 10 วัน และยืมต่อ(Renew)ได้ 1 ครั้ง = 7 วัน
- ยืมหนังสือได้ จำนวน 5 เล่ม
วิธีการยืมหนังสือทำอย่างไร
การยืมหนังสือมี 2 วิธี ดังนี้
- เคาน์เตอร์บริการยืมคืน (บริเวณชั้น2)
- ยืมหนังสือได้ด้วยตนเองผ่านเครื่องยืม-คืนอัตโนมัติ (Self Check Book) (บริเวณชั้น 1 หน้าลิฟต์)
- ผู้ใช้บริการยืม – คืน ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ยืม – คืน (สำนักวิทยบริการ ชั้น 2)
- เจ้าหน้าที่จะให้บริการยืม – คืน เฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวเท่านั้น
ศูนย์วิทยาศาสตร์มีห้องสมุดหรือไม่
ศูนย์วิทยาศาสตร์ให้บริการห้องสมุดที่อาคารที่พักหญิงศูนย์วิทยาศาสตร์ ชั้น 2
การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายนอก
- ผู้รับบริการการจะต้องทำการ access เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยก่อนทุกครั้ง หรือเรียกว่าวิธีการ VPN ดังคู่มือการใช้งาน http://network.dusit.ac.th/web/services/vpn/
- สังเกตุชื่อผู้ใช้งานเป็น “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” จะต้องปรากฏอยู่หน้าฐานข้อมูลนั้น