กุ๊ก (เหนือ) หวีด (เชียงใหม่) กอกกั๋น (อุบลราชธานี) ช้าเกาะ ช้างโน้ม (ตราด) ตะคร้ำ
Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ANACARDIACEAE
ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่งๆ เปลือกสีเทาอมเขียวหรือขาวปนเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่นๆห้อยย้อยลง ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นช่อเรียงสลับช่อหนึ่งมีใบย่อย 2-7 คู่ รูปไข่แกมรูปหอก โคนเบี้ยวปลายเป็นติ่งยาวทู่ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนประปราย ขอบเรียบ ดอก: ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้โตกว่าเพศเมียเล็กน้อยสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกส่วนมากมี 4 กลีบ ผล: มีขนาดและลักษณะคล้ายถั่วเมล็ดแข็ง
พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ
ไม้ใช้ทำกระดานพื้น ฝา เครื่องเรือน เปลือกเป็นยาใส่แผล แก้ปวดท้อง ทำเชือกและทุบทำเป็นผืนสำหรับปูบนหลังช้าง ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง ฯลฯ และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol แก้เสมหะเหนียว แก่นมีรสฝาด ปรุงเป็นยาทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ