จำมะโฮง (เชียงใหม่) มะโรง มะโหรง (ปัตตานี) โหมโรง (ใต้)
Sterculia foetida L.
STERCULIACEAE
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนต่ำๆ เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ: ใบประกอบรูปนิ้วมือกางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5–6 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ดอก: สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ช่อดอกยาว 10-30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ผล: ผลแห้งแตก รูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยง เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร ผลออกช่วงเดือน มกราคม-เมษายน
ขึ้นได้ทั่วไป
ฝักใช้สมานแผลในกระเพาะ เปลือกละลายเสมหะน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ปรุงอาหารและจุดไฟ