ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี) ตำหยาว (ใต้) มะม่วงไม่รู้หาว (กลาง) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา (เหนือ) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)
Anacardium occidentale L.
ANACARDIACEAE
ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบ: เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับ รูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมนป้าน กว้าง 7.5-10 เซนติเมตร ยาว 7.5-20 เซนติเมตร ดอก: ออกเป็นช่อหลวมๆ สีแดงอมม่วงหรือสีครีม กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 8-10 อัน มีหนึ่งอันที่ยาวกว่าอันอื่น ผล: ผลเมื่อโตฐานรองดอกจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นลักษณะคล้ายผลชมพู่ ยาว 6-7 เซนติเมตร สีเหลืองอมชมพู เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงและมีกลิ่นหอม ผลแบบ nut ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม
เป็นพรรณไม้ที่ปลูกกันในทุกภาค
ใบอ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมรับประทานเป็นอาหารทั่วไป ผลสุกรับประทานเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาระบายอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง บิด อาเจียน น้ำมันในเปลือกใช้เป็นยาทารอยแตกที่ส้นเท้าได้