ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

รูปภาพ

โครงการสำรวจพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และจัดทำหนังสือพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ความเป็นมา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อย่างต่อเนื่อง โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องตามกรอบแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ 5 ปีที่ห้า (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2559) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ในปีงบประมาณ 2557 มหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (อพ.สธ.-มรภ.สวนดุสิต.) จากสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็น สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นการมุ่งสนองงานตามแนวพระราชดำริบนความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น

    ปัจจุบัน สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) โดยดำเนินงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตามกรอบแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2564)

หลักการและเหตุผล

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ดาเนินโครงการภายใต้ฐาน ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยมีกรอบการดาเนินงาน อพ.สธ. 3 กรอบ ได้แก่ 1) กรอบการเรียนรู้ 2) กรอบการใช้ประโยชน์ และ 3) กรอบการสร้างจิตสานึก ซึ่งภายใต้กรอบการเรียนรู้ ทั้ง 3 กรอบ มีกิจกรรมหลัก รวมทั้งสิ้น 8 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร กิจกรรมที่ 2 สารวจเก็บรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร กิจกรรมที่ 4 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร กิจกรรมที่ 5 ศูนย์ข้อมูลทรัพยากร กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร

    สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานกลางที่ทาหน้าที่ประสานงานเพื่อให้การ ดาเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ในแผนแม่บท อพ.สธ.-มสด. จึงได้พิจารณากิจกรรมดาเนินงานที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการดาเนินงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 5 และกิจกรรมที่ 8 โดยสนับสนุนให้คณะและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงาน ซึ่งเป็นการบูรณาการการทางานร่วมกันระหว่างสถาบันภาษา ศิลปะและ วัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ e-Learning สานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตสุพรรณบุรี และศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลาปาง มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดาเนินการตามกิจกรรม ที่กาหนดในแผนปฏิบัติงาน

    โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เน้นการดาเนินงานภายใต้ความเชี่ยวชาญตามอัตลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมจากฐานข้อมูลในด้าน ทรัพยากร เป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสาอางสาหรับเด็ก เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างจิตสานึกกับ โรงเรียนหรือชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย คือ วิทยาเขตสุพรรณบุรีและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลาปาง เกิดเป็น เครือข่ายทางด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อสนองพระราชดาริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อศึกษารวบรวมและจัดทาฐานข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สาคัญ เพื่อนาไปใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการนาทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative economy) เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับชาติ และชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ครูและนักเรียนของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หรือ หรือ อปท.(องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น) ที่เป็นสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ. ชุมชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร