ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

รูปภาพ

โครงการสำรวจพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และจัดทำหนังสือพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

หน่วยงาน: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษารวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างนวัตกรรมในรูปแบบของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative economy) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมในงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นโครงการบริหารจัดการ การดำเนินกิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โดย ๑) สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อการจัดสรรงบประมาณโครงการ/กิจกรรมที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒) สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ขออนุญาตโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สวนจิตรลดา จัดการประกวดการนำเสนอผลงานที่ได้จากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ๓) สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดประชุมเพื่อติดตามและรายงานผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในภาพรวมของมหาวิทยาลัย

ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมอบหมายให้สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในการนี้ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม จึงได้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่ได้เสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งสิ้น ๕ หน่วยงาน ดังนี้

คณะครุศาสตร์ จำนวน ๑ โครงการ ได้แก่

สืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย “พับกระดาษ ใบลาน ปั้นดิน” คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เข้ากับการเรียนการสอนในชั้นเรียน เพื่อสร้างเครือข่าย การดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สาธารณชน และประชาคมอาเซียน

ผลการดำเนินงาน

ฝ่ายผลิตและพัฒนาสื่อ ศูนย์นวัตกรรมการศึกษา และฝ่ายศิลปวัฒนธรรม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำโครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เรื่อง พับกระดาษ ใบลาน ปั้นดิน ที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย ในฐานะเป็นเครื่องมือและเป็นกระจกของสังคมที่สะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี ความคิด และความเป็นอยู่ของคนในสมัยโบราณ ที่บรรพบุรุษได้รวบรวม สั่งสม สร้างสรรค์ ถ่ายทอดศิลปะไว้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชาติ

คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่

การพัฒนาฐานข้อมูล รวบรวมพรรณไม้ป่าสีม่วงเพื่อเป็น application การใช้ประโยชน์ในรูปแบบพืชสมุนไพรและอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนจากภูมิปัญญาไทยสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจ การพัฒนาตำรับเครื่องสำอางสบู่เหลวและแป้งน้ำลดแบคทีเรียที่มีส่วนผสมสารสกัดสมุนไพรอินทนิลน้ำ

โครงการการพัฒนาฐานข้อมูล รวบรวมพรรณไม้ป่าสีม่วงเพื่อเป็น application การใช้ประโยชน์ในรูปแบบพืชสมุนไพรและอาหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช รวบรวมข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ของไม้ป่าที่ให้ดอกสีม่วง ดังนี้คือ ๑.ช้าแป้น/ฝ้าขาว ๒. ต้นเสี้ยวดอกขาว ๓. กัลปพฤกษ์ ๔. ชิงชัน ๕. กระพี้ ๖. ต้นเกรียน ดอกสีม่วง ๗. เหมือดจี้ดง ๘. ยี่เข่ง ๙. นางพญาเสือโคร่ง ๑๐. ตะแบกนา ๑๑. เสลาเปลือกบาง ๑๒.อินทนิลบก ๑๓. อินทนิลน้ำ ๑๔. เข็มป่า ๑๕. ยาแก้มะโหกโตน ๑๖. กระดูกไก่ ๑๗. ยางเหียง ๑๘. มณฑาป่า

กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช นำข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รวบรวมได้มาใช้ประโยชน์ โดยการพัฒนาเป็น application เพื่อการใช้ประโยชน์จากไม้ป่าที่ให้ดอกสีม่วงในลักษณะเป็นพืชสมุนไพรและอาหาร

กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช/ภูมิปัญญา นำเสนอองค์ความรู้จากการพัฒนาเป็น application เพื่อการใช้ประโยชน์จากไม้ป่าที่ให้ดอกสีม่วงในลักษณะเป็นพืชสมุนไพรและอาหาร

กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช/ภูมิปัญญา ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติและนิทรรศการ การเผยแพร่โดยสื่อต่างๆ เช่น การทำเอกสารเผยแพร่ในการประชาสัมพันธ์ และตอบผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการและทดลองใช้ application ภาพประกอบงานเผยแพร่นานาชาติของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ณ อาคารรักตะกนิษฐ์ ระหว่างวันที่ ๒-๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนจากภูมิปัญญาไทยสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

เชิงปริมาณ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน จำนวน ๓ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักล้าง น้ำยาปรับผ้านุ่ม เชิงคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับและมีความพึงพอใจจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

ผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช รวบรวมข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้จัดทำโครงการจึงมีความสนใจในการรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ของส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักล้าง น้ำยาปรับผ้านุ่ม คือ อัญชันให้ดอกสีม่วง

กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช นำข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รวบรวมได้มาใช้ประโยชน์ โดยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักล้าง น้ำยาปรับผ้านุ่ม

กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช/ภูมิปัญญา นำเสนอองค์ความรู้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักล้าง น้ำยาปรับผ้านุ่ม

กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช/ภูมิปัญญา ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติและนิทรรศการ การเผยแพร่โดยสื่อต่างๆ เช่น การทำเอกสารเผยแพร่ในการประชาสัมพันธ์ โดยมีการนำเสนองานโครงการในรูปแบบโปสเตอร์ และการใช้แผ่นพับ ในงานเผยแพร่นานาชาติของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ณ อาคารรักตะกนิษฐ์ ระหว่างวันที่ ๒-๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒

โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวและแป้งน้ำลดแบคทีเรีย ที่มีส่วนผสมสารสกัดสมุนไพรอินทนิลน้ำ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

ทราบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของพืชอินทนิลน้ำ ได้ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวอาบน้ำและแป้งน้ำลดเชื้อแบคทีเรียที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรอินทนิลน้ำ จำนวน ๒ ผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ใช้มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจระดับ ๔ ขึ้นไป (ระดับมากถึงมากที่สุด) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ผลการดำเนินงาน

มีผลการดำเนินงานบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทุกประเด็น ได้แก่ จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากใบของอินทนิลน้ำมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ๓ ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureu, Staphylococcus epidermis, และ Escherichia coli น้อยกว่า ๑.๖๒๕ mg/ml ได้สูตรตำรับและกระบวนการผสมสบู่เหลวอาบน้ำและแป้งน้ำลดเชื้อแบคทีเรียที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรอินทนิลน้ำ จำนวน ๒ ผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ใช้มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ ร้อยละ ๘๙.๔ คุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ ที่ระดับความพึงพอใจ ๔.๔๗ ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความพึงพอใจระดับ ๔.๕๕ คิดเป็นร้อยละ ๙๐

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง สุพรรณบุรี จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่

๓.๑ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนไทดำ

๓.๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพจากสมุนไพรและข้าวไรซ์เบอร์รี่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ ๖๐ พรรษา

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนไทดำ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง สุพรรณบุรี วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนารูปแบบและตัดเย็บผลิตภัณฑ์ผ้าภูมิปัญญาไทดำให้เกิดความร่วมสมัยในบริบทปัจจุบัน เพื่อถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ผ้าภูมิปัญญาไทดำสู่การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ผ้าภูมิปัญญาไทดำสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าภูมิปัญญาไทดำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชน

ผลการดำเนินงาน

จากการเปิดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ประกอบการถึงแนวทางการพัฒนารูปแบบการตัดเย็บผลิตภัณฑ์ได้แนวทางการดำเนินการพัฒนา ๓ รูปแบบ คือ

๑.๑ รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชุมชน โดยพัฒนารูปแบบปรับปรุงการใช้สีที่แตกต่างจากสีผ้าดั้งเดิม ผู้ที่ทำหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ กลุ่มทอผ้ากี่กระตุกบ้านยางลาว ต.บ้านดอน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา ได้แก่ หมอนอิง กระเป๋าผ้า หมอนสมุนไพรขนาดต่างๆ กล่อง ทิชชู ผ้ากันเปื้อน ซองแว่นตา

๑.๒ รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่ใช้วัสดุของชุมชนผสานกับการตัดเย็บในรูปแบบอุตสาหกรรม โดยใช้ อัตลักษณ์ของศิลปกรรมชุมชนไทดำให้มีรูปแบบที่ทันสมัยได้มาตรฐานสินค้าระดับสากล ผู้ทำหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ ผู้ประกอบการแทนชน (Tanchon) ต.ทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นแกนนำ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ต.ดอนมะนาว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา ได้แก่ หมอนอิง กระเป๋าเป้รูปแบบต่างๆ กระเป๋าถือสุภาพสตรี กระเป๋าอเนกประสงค์ เป็นต้น

๑.๓ รูปแบบการพัฒนาการตัดเย็บเสื้อผ้าของช่างเย็บผ้าให้มีรูปแบบเสื้อผ้าที่หลากหลาย ได้แก่ ชุดประจำวัน ชุดออกงาน (ชุดสั้นและชุดยาว) โดยช่างเย็บผ้านางจิตรจรรยา เตียวเจริญสิน โดยพัฒนาร่วมกับนักออกแบบ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) โดยใช้อัตลักษณ์ของศิลปกรรมชุมชนไทดำเป็นเรื่องราวสำคัญในการออกแบบ ผลจากการพัฒนารูปแบบและการตัดเย็บผลิตภัณฑ์ผ้าภูมิปัญญาไทดำ ผลงานดังกล่าวนำมาศึกษาในเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ อันประกอบด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ครูผู้สอน ๗ โรงเรียน ประธานสภาวัฒนธรรม ๓ ตำบล อันได้แก่ ต.บ้านดอน ต.ดอนมะเกลือ อ.อู่ทอง และ ต.ดอนมะนาว อ.สองพี่น้อง

โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพจากสมุนไพรและข้าวไรซ์เบอร์รี่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ ๖๐ พรรษา

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง สุพรรณบุรี

ขั้นตอนที่ ๑

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อจัดวางแผนการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ ๒

มีการกำหนดกิจกรรมใน มคอ ๓ ของรายวิชาเครื่องสำอางสมุนไพรและจัดกิจกรรมการตั้งตำรับเครื่องสำอางในชีวิตประจำวันจากสมุนไพรในศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งสุพรรณบุรี โดยประยุกต์จากตำรับเครื่องสำอาง “RICE STORY” โดยใช้นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางที่ช่วยงานวิจัยพัฒนา “RICE STORY” เป็นผู้แนะนำการทำปฏิบัติการ โดยใช้ทักษะและองค์ความรู้จากงานวิจัย

ขั้นตอนที่ ๓

นักศึกษารายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพและเครื่องสำอางสมุนไพรนำเสนอชุดผลิตภัณฑ์ “RICE STORY” ในงาน ILAC ๒๐๑๕

ขั้นตอนที่ ๔

นำผลการวิจัยเบื้องต้นของโครงการยื่นข้อเสนอขอรับการอุดหนุนทุนวิจัยจาก สกอ ๕๘

ขั้นตอนที่ ๕

ใช้ระบบและกลไกของโรงเรียนการเรือนในการบริการวิชาการแก่สังคมและได้นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ในงาน ILAC ๒๐๑๕

ขั้นตอนที่ ๖

ใช้ระบบและกลไกของโรงเรียนการเรือนในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยชุดผลิตภัณฑ์ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกสมุนไพรมาใช้ในการพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์

รายงานการจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น : เรื่อง เทคนิคสุขภาพพึ่งตนเองตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ : ยา ๙ เม็ด ในรูปแบบสื่อ Multimedia ศูนย์ e-Learning

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

๑.ผลิตสื่อการเรียนรู้เรื่อง เทคนิคสุขภาพพึ่งตนเองตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ : ยา ๙ เม็ด จำนวน ๑ เรื่อง

๒.จัดทำสำเนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง เทคนิคสุขภาพพึ่งตนเองตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ : ยา ๙ เม็ด เพื่อเผยแพร่ จำนวน ๕๐๐ ชุด ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐