หน่วยงาน: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพันธุ์พืชสมุนไพรในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนับชนิด จำนวนต้น พรรณไม้และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำมาคำนวณหาค่าความหลากหลาย (diversity index) ความเด่นสัมพัทธ์ relative (dominant) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density) ความถี่สัมพัทธ์ (relative frequency) และดรรชนีความสำคัญ (dominant index) การใช้ประโยชน์ของพันธุ์พืชสมุนไพร โดยใช้การวางแปลงชั่วคราวเพื่อศึกษาสังคมพืช นอกจากนี้ยังใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) จำนวน 200 ราย นำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์หาแนวทางจัดการพืชสมุนไพรในป่าในพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้โปรแกรม SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า จากการสำรวจพรรณไม้ในแปลงขนาด 4x4 เมตร จำนวน ทั้งสิ้น 30 แปลง โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น 25 ไร่ พบพืชสมุนไพรทั้งสิ้น 20 ชนิด 13 วงศ์ 18 สกุล โดยพบวงศ์สกุล Zingiberaceae มากที่สุด จำนวน 7 ชนิดรองลงไปคือ Araceae จำนวน 3 ชนิด และ Asteraceae จำนวน 2 ชนิด ตามลำดับ มีดรรชนีความสำคัญ ร้อยละ 61.7 คือ พะยอม ส่วนไม้หนุ่มที่มีความเด่นมากที่สุด คือ มะห้า มีค่าดรรชนีความสำคัญ ร้อยละ 54.3 ไม้ล่างพบว่า หญ้า มีความหนาแน่นสัมพัทธ์มากที่สุด 12 ต้นต่อตารางเมตร ความถี่สัมพัทธ์ พบว่า มีค่าความถี่สัมพัทธ์มากที่สุด ร้อยละ 44 ดรรชนีความหลากหลายของไม้ยืนต้นเท่ากับ 1.080 สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพร พบว่ามีการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร 28 ตำรับ ส่วนของพืชที่นำมาใช้ในการปรุงยามากที่สุด คือ ลำต้น และแนวทางการจัดการพืชสมุนไพรในป่าบริเวณอำเภอเดิมบางนางบวช ได้แก่ การรักษาพื้นที่ป่าไม้ การวิจัยและพัฒนา การใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการใช้พืชสมุนไพร และการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้พืชสมุนไพร
หน่วยงาน: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากการศึกษาในเขตพระนครเป็นเขตเมืองชั้นในขนาดที่เก่าแก่ เป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังและโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ มีเนื้อที่ 3,460 ไร่ มีถนน ซอย และตรอก จานวน 90 สาย รวมความยาว 48.097 กิโลเมตร จากการสำรวจพรรณไม้ริมเส้นทางการสัญจรและในสวนหย่อม พบว่าในเขตพระนคร มีต้นไม้อยู่ 83 ชนิด จานวนทั้งสิ้น 6,646 ต้นโดยส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ขนาดกลาง (ร้อยละ 47.71) รองลงมาคือต้นไม้ขนาดเล็ก (ร้อยละ 39.72) และต้นไม้ขนาดใหญ่ (ร้อยละ 12.57) พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุด 5 ชนิดแรกคือ มะขาม (ร้อยละ 20.39) ประดู่บ้าน (ร้อยละ 19.49) อินทนิลน้ำ (ร้อยละ 7.85) ชมพูพันธุ์ทิพย์ (ร้อยละ 7.18) และปีบ (ร้อยละ 5.60) โดยพรรณไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่บนบาทวิถี จะเห็นได้ว่าเขตพระนครแม้จะเป็นเขตเมืองชั้นในแต่ก็มีความร่มรื่นอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ควรแก่การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้อยู่มั่นคงสืบไป โดยเฉพาะบริเวณรอบท้องสนามหลวง นั่นคือต้นไม้มะขาม เพราะเป็นต้นไม้ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสให้ปลูกเพื่อความร่มรื่น ความเชื่อโบราณว่าการปลูกไม้มะขามจะทำให้น่าเกรงขาม และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำแบบอย่างการปลูกต้นไม้รอบสนามหลวงมาจากสนามหลวงอินโดนีเซีย และนำมาปรับปรุงสนามหลวงของกรุงเทพมหานครด้วย และในเขตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตหนึ่งในจำนวน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่น แม้จะเป็นเขตที่เล็กที่สุดแต่ก็มีสถานที่สำคัญๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และมีสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมากมาย เขตสัมพันธวงศ์ มีต้นไม้อยู่เพียง 33 ชนิด รวมจานวน 1,100 ต้น มลพิษทางอากาศที่เกินค่ามาตรฐานคือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน(มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 120 (ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ต้นไม้ที่ช่วยลดมลพิษมากที่สุด คือ ประดู่บ้าน มะฮอกกานีใบใหญ่ ชมพูพันธุ์ทิพย์ และอินทนิลน้ำ โดยที่ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โอโซน และ สารประกอบอินทรีย์ระเหย จะผ่านกระบวนการการดูดซึม ส่วนฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน จะผ่านกระบวนการการตกกระทบ
หน่วยงาน: คณะวิทยาการจัดการ
จากการสำรวจความต้องการของชุมชนในบ้านป่าเหมี่ยง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ทำไร่ และกาแฟเป็นอาชีพหลัก ต้องการให้ทางการส่งเสริมการเกษตรเข้ามาให้ความรู้ในการปลูกพืชทดแทนนอกฤดูกาล เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
หน่วยงาน: คณะวิทยาการจัดการ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนในอากาศด้วยใบพืชทั้งหมด 18 ชนิด ได้แก่ ใบเสน่ห์จันทร์แดง ใบมะกรูด ใบตอง ใบมะม่วง ใบสน ใบอินทนิน ใบตะแบก ใบขี้เหล็ก ใบเฟื่องฟ้า ใบตำลึง ใบสาวน้อยปะแป้ง ใบผีเสื้อ ใบอโศก ใบโพธิ์ ใบหน้าวัว ใบประดู่ ใบตีนเป็ด และ ใบปลงทะเล และศึกษาความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการดูดซับเบนซีนกับปริมาณแว๊กซ์ในใบพืช โดยการศึกษาการดูดซับเบนซีน ด้วยใบพืชแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การทดลองแบบกะ (batch) และการทดลองในระบบต่อเนื่อง
สำหรับการทดลองแบบกะ จะทำการทดลองใน นำมาใส่โหลสุญญากาศ ที่มีปริมาตร 15.6 ลิตร โดยฉีดเบนซีนเริ่มต้น 20 ppm เข้าไปในระบบ โดยมีระยะเวลา 3 วัน ผลการทดลองพบว่า พืช 5 ชนิด ได้แก่ A. scholaris (ใบตีนเป็ด) D. picta ( ใบสาวน้อยปะแป้ง) F. religiosa( ใบโพธิ์) L. macrocarpa ( ใบอินทนิน) และ A. aureum (ใบปลงทะเล) มีประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนค่อนข้างสูง โดย A. scholaris มีประสิทธิภาพการดูดซับเบนซีนเข้าไปในใบสูงถึง 20.57±1.62 μmole/g of adsorbent จึงได้นำใบพืชทั้ง 5 ชนิดไปทำการทดลองต่อในระบบบำบัดแบบต่อเนื่อง (คอลัมน์) โดยใช้ตัวดูดซับ 15 กรัม และความเข้มข้นของเบนซีนเริ่มต้นที่ป้อนเข้าไป 55 ppm ระยะเวลาการกักเก็บ 3 นาที ซึ่งผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนของ D. picta, A. aureum, A. scholaris มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงประมาณ ร้อยละ 67.61- 85.43, 59.81-87.22 และ 63.29-86.26 ของการทดลองชั่วโมงที่ 6-84 ตามลำดับ ส่วน L. macrocarpa และ F. religiosa มีประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 44.83-74.28 และ 45.02-76.65 ตามลำดับ และใบพืชเหล่านี้มีศักยภาพในการดูดซับเต็มที่ 132 ชั่วโมง และจากผลการแยกชะด้วยเฮกเซนและผลของ FTIR ของใบพืชก่อนและหลังดูดซับยืนยันได้ว่ามีกลไกการดูดซับแบบกายภาพ นอกจากนี้ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการดูดซับเบนซีนต่อปริมาณแว๊กซ์ในใบพืชพบว่าปริมาณแว๊กซ์ (wax) ที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มทำให้ใบพืชมีประสิทธิภาพในการบำบัดเบนซีนสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามใบพืชบางชนิดมีปริมาณแว็กซ์สูง แต่ให้ประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนต่ำกว่าพืชที่มีปริมาณแว๊กซ์ต่ำกว่า ดังนั้นปริมาณแว็กซ์ในใบพืชน่าจะเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดเบนซีนในใบพืช แต่อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย
หน่วยงาน: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของไลเคน และสังเกตปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายของไลเคนในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัด แนวปฏิบัติ รวมทั้งการตรวจสอบติดตามสิ่งแวดล้อมต่อไป
ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างไลเคนที่ระดับความสูง 0.5-2 เมตร จากการกำหนดจุดเก็บตัวอย่างเป็นตัวแทนของตำบลต่างๆ ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จากภาพถ่ายดาวเทียม เมื่อลงสำรวจพื้นที่จริง พบว่า พื้นที่ที่มีการสำรวจพบใลเคนมีเพียงเขตบางสีทอง บางขนุน และเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกและราษฎร ส่วนมากมีอาชีพในการเกษตรกรรมสวนผลไม้ ส่วนในเขตพื้นที่ตำบลอื่นๆนั้น แม้เป็นพื้นที่การเกษตรแต่เป็นไม้ดอกไม้ประดับหรือการทำนาจึงไม่เหมาะต่อการแพร่กระจายของไลเคน
หน่วยงาน: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระดับโมเลกุลของทุเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการระดับโมเลกุลของทุเรียนในจังหวัดนนทบุรี โดยเทคนิค PCR และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บน Ribosomal DNA (rDNA) ทำการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอในส่วนของ rDNA บริเวณ Internal Transcribed Spacer (ITS) ตาแหน่ง ITS1-5.8S-ITS2 ด้วยคู่ไพร์เมอร์ ITS พบว่าทุเรียน 14 สายพันธุ์ของจังหวัดนนทบุรี มีขนาดชิ้นของดีเอ็นเอประมาณ 1,435 คู่เบส เมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลลาดับนิวคลีโอไทด์โดยใช้โปรแกรม ClustalX และ Mega 6 กับลำดับนิวคลีโอไทด์ของทุเรียนจากฐานข้อมูล GenBank เพื่อหาแผนภูมิความสัมพันธ์โดยวิธี Neighbour-Joining แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของทุเรียนในจังหวัดนนทบุรี แต่ไม่เป็นเกิดกลุ่ม โดยทุเรียนพันธุ์ก้านยาวสีนาค พันธุ์ทองย้อยฉัตร และพันธุ์กบชายน้า มีความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรม สอดคล้องกับลักษณะสัณฐานวิทยาของใบ ปลายใบ และฐานใบ ส่วนสัณฐานวิทยาของผลพันธุ์กบชายน้า และทองย้อยฉัตรมีทรงผล รอยต่อก้านผล และรูปร่างหนามเป็นแบบเดียวกัน
หน่วยงาน: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โครงการวิจัยกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการกิจกรรมปฏิบัติการภาคสนาม (Field Trip Study) ด้วยการสำรวจ (Survey) ความหลากหลายทางชีวภาพ ของภูมิประเทศแบบคาร์ต (Karst topography) ระบบนิเวศป่าชายเลน ในพื้นที่วนอุทยานเขานางพันธุรัตน์ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรีและ วนอุทยานปราณบุรี อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังการปฏิบัติการภาคสนาม ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลที่ได้จาการปฏิบัติการภาคสนาม (Field Trip Study) มาจัดทำคู่มือการเรียนรู้ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของภูมิประเทศแบบคาร์ต (Karst topography) ระบบนิเวศป่าชายเลน และระบบนิเวศชายฝั่งโดยมีผลการประเมินคู่มือ อยู่ในระดับดี
หน่วยงาน: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เป็นโครงการใหม่ โดยดำเนินการรูปแบบงานวิจัย ซึ่งโครงการวิจัยกำลังอยู่ระหว่างอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้ของผู้ดูแลเด็ก เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ การบูรณาการสู่กิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ โดยจัดการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้ความรู้และทักษะแก่ครูผู้ดูแลเด็กตามรูปแบบและกระบวนการให้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจุดประกายความคิดในการร่วมมือกันพัฒนาการเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการบูรณาการกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาของครูผู้ดูแลเด็ก ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังการดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการของผู้ดูแลเด็กสูงขึ้น
2) ผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ สามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่มีการบูรณาการกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาและความหลากหลายทางชีวภาพได้
หน่วยงาน: คณะพยาบาลศาสตร์
ดำเนินการรูปแบบโครงการ/กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม คือ
1. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
2. ศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่โครงการสวนสมุนไพรสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและโครงการชั่งหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี
3. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมกิจกรรม
ทั้ง 3 กิจกรรม จัดขึ้นในวันที่ 21 – 23 และ 29 มิถุนายน 2556 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วยนักศึกษา 24 คนและอาจารย์ 6 คน ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการโดยสรุปดังนี้ 1. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 25 คน ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 1, 3 - 4 ชั้นปีละ 6 คน และชั้นปีที่ 2 จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายเชิงปริมาณที่กำหนด 2. นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มีจิตสำนึกการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และสามารถเชื่อมโยงกับมิติสุขภาพซึ่งเป็นเป้าหมายเชิงคุณภาพ ประเมินโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมกิจกรรม จากการสนทนากลุ่มย่อย พบว่า 2.1 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์มีจิตสำนึกการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 2.2 ในฐานะนักศึกษาและในอนาคตที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพ สิ่งที่ควรทำเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดย
ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานที่โครงการสวนสมุนไพรสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริและพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี นักศึกษานำมาวิเคราะห์ในมิติสุขภาพได้ดังนี้
ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ ความพึงพอใจในกิจกรรมโครงการ และ ความสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ที่ได้รับ กับ มิติด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ พบว่า