1. ชื่อโครงการ: โครงการสำรวจพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และจัดทำหนังสือพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
หน่วยงาน: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์
เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
เพื่อจัดทำหนังสือพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
เพื่อจัดทำเว็บไซต์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯและพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิธีการดำเนินการและกิจกรรม
สำรวจและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤกษอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554
บันทึกตำแหน่งที่พบพรรณไม้และถ่ายภาพตัวอย่าง
เก็บข้อมูลในภาคสนามโดยเลือกเก็บตัวอย่างพืชที่มีทั้งใบ ดอกหรือผลในกิ่งเดียวกันซึ่งมีความยาวประมาณ 1 ฟุต จำนวน 3 กิ่งตัวอย่างต่อพืช 1 ชนิด
ศึกษาลักษณะทางด้านสัณฐานวิทยาของพรรณไม้ที่เก็บรวบรวมมาได้ในห้องปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตอย่างละเอียด เพื่อทำการจัดจำแนกเบื้องต้นในระดับวงศ์ สกุลและชนิด (โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอกของพรรณไม้ประกอบกับคู่มือการจัดจำแนกชนิดพรรณไม้ รวมทั้งตรวจหาชื่อพ้อง ชื่อพื้นเมือง พร้อมทั้งจัดทำคำบรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์และลักษณะการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้ที่พบ
นำตัวอย่างพรรณไม้ที่จัดจำแนกแล้วไปเปรียบเทียบตัวอย่างกับตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บรักษาไว้พิพิธภัณฑ์พืชต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์พืชศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพฯ อาคารสิรินธร กรมวิชาการเกษตร, หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช เป็นต้น พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของชื่อพรรณไม้โดยยึดตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย
จัดทำหนังสือพรรณไม้/เว็บไซต์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯและพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ผลการดำเนินการ
จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เก็บตัวอย่างผักพื้นบ้านได้ทั้งสิ้น 87 ชนิด แบ่งออกเป็น 33 วงศ์ 76 สกุล
2. ชื่อโครงการ: การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพันธุ์พืชในชุมชน” ณ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
หน่วยงาน: บัณฑิตวิทยาลัย
วัตถุประสงค์
เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก ผ่านกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญ และประโยชน์ของพันธุกรรมพืชในชุมชนให้กับนักเรียนในชุมชนบางคนที จ.สมุทรสงคราม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
วิธีการดำเนินการและกิจกรรม
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
คณะกรรมการดำเนินงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามโครงการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยดำเนินการที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
คณะกรรมการดำเนินงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ประชุมหารือกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยายแพง ผู้อำนวยโรงเรียนวัดบางคนทีใน คณะครูจากทั้งสองโรงเรียน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนจากสถาบันต่างๆ ในท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียนจากทั้งสองโรงเรียน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
จัดอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านยายแพง และโรงเรียนวัดบางคนทีใน จำนวน 66 คน ที่โรงเรียนบ้านยายแพงเมื่อวันที่ 9-10 สิงหาคม 2554 โดยมีทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพันธุ์พืชในชุมชน การอนุรักษ์พันธุ์พืช การไปสำรวจพันธุ์พืชที่สวนคุณแม่ (เป็นสวนที่อยู่ในอำเภอบางคนที) การวาดภาพชุมชนในฝัน และนักเรียนแต่ละคนจะเพาะกล้าไม้ในกระถาง คนละ 1 กระถาง ให้นักเรียนดูแลเพื่อนำมาประกวดในวันที่ 13 กันยายน 2554
ทีมวิทยากรจากท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการหมู่บ้าน หมอดินอาสาบางคนทีกรรมการทำปุ๋ยบางคนที ตัวแทนชุมชนบางคนที ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับการักษาต้นกล้า และการเคลื่อนย้ายต้นกล้า ในวันที่ 23 สิงหาคม 2554 และทีมวิทยากรจากท้องถิ่น เป็นผู้ติดตามนักเรียนในการดูแลรักษาต้นกล้าทั้งสองโรงเรียน
ทบทวนให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพันธุ์พืชแก่นักเรียนทั้งสองโรงเรียน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่โรงเรียนบ้านยายแพงโดยมีทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีการต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์พืช การักษาต้นกล้า และการย้ายต้นกล้า โดยการประกวดแบ่งเป็นการประกวดตามชั้นเรียน ตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 1- ประถมศึกษาปีที่ 6 รางวัลละ 1 ชั้นเรียน กรรมการที่ตัดสินเป็นทีมวิทยากร
ผลการดำเนินการ
เป็นโครงการใหม่ โดยดำเนินการรูปแบบโครงการ/กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม คือ
ประชุมความร่วมมือกับชุมชนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จัดอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านยายแพง และโรงเรียนวัดบางคนทีใน จำนวน 66 คน ที่โรงเรียนบ้านยายแพง
ทีมวิทยากรจากท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการหมู่บ้าน หมอดินอาสาบางคนทีกรรมการทำปุ๋ยบางคนที ตัวแทนชุมชนบางคนที ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับการักษาต้นกล้า และการเคลื่อนย้ายต้นกล้า ในวันที่ 23 สิงหาคม 2554
ทบทวนให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพันธุ์พืชแก่นักเรียนทั้งสองโรงเรียน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่โรงเรียนบ้านยายแพงโดยมีทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีการต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์พืช การักษาต้นกล้า และการย้ายต้นกล้า โดยการประกวดแบ่งเป็นการประกวดตามชั้นเรียน ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1- ประถมศึกษาปีที่ 6 รางวัลละ 1 ชั้นเรียน กรรมการที่ตัดสินเป็นทีมวิทยากร