ด้วยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะที่มีพันธกิจสำคัญ ๔ ด้าน คือ การเรียนการสอนการวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงความสำคัญของการได้สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึงได้จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาไทยสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจในการการเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยในการใช้พืชสมุนไพร ทำการรวบรวมพรรณไม้และลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ข้าว ๕ สี ประกอบด้วย ข้าวชัยนาท ๑, ข้าวหอมปทุมธานี, ข้าวไรซ์เบอรี่, ข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ และข้าวเหลืองทองมาเอง ซึ่งปลูกอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายก นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Home Care, Beauty Care , Health Care & Toys เพื่อสร้างรายได้ตามพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและการต่อยอดเชิงธุรกิจ และแสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลภายนอก รวมทั้งเป็นการสร้างแนวทางความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริการ
1. เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
2. เพื่อรวบรวมพรรณไม้และลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมของโครงการ
3. พัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมของโครงการ
4. สร้างรายได้ตามพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและการต่อยอดเชิงธุรกิจ
5. แสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลภายนอก เพื่อสร้างแนวทางความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริการ
เชิงปริมาณ
1. ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้จากการดำเนินงาน อพ.สธ.-มสด. อย่างน้อย ๓ ผลิตภัณฑ์
2. สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปใช้ในการบริการวิชาการ อย่างน้อย ๑ สื่อ
3. เครือข่ายในการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากผลการดำเนินงาน อพ.สธ.-มสด. สู่ชุมชน อย่างน้อย ๑ เครือข่าย
4. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน ๑ เล่ม
เชิงคุณภาพ
1. ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับและมีความพึงพอใจ จากผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
2. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของทรัพยากรของชุมชน/ชาติ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ มีค่าคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเผยแพร่นวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับชาติและชุมชน