กิจกรรมโครงการศูนย์ ลำปาง

รูปภาพ

แสดงรายละเอียดในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.)

หลักการและเหตุผล

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ดำเนินโครงการภายใต้ฐานทรัพยากรวัฒนธรรมและทั้งสิ้น ๘ กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมปกป้องทรัพยากรภูมิปัญญา โดยมีกรอบการดำเนินงาน อพ.สธ. ๓ กรอบ ได้แก่ ๑) กรอบการเรียนรู้ ๒) กรอบการใช้ประโยชน์ และ ๓) กรอบการสร้างจิตสำนึก ซึ่งภายใต้กรอบการเรียนรู้ทั้ง ๓ กรอบ มีกิจกรรมหลักรวม
กิจกรรมที่ ๒ สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๔ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๕ ศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๖ กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๗ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมที่ ๘ กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับผิดชอบในกิจกรรมที่ ๘ กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยดำเนินการจัดกิจกรรมหาสมาชิกใหม่ การสำรวจพันธุ์พืชสมุนไพรท้องถิ่น เผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างจิตสำนึกให้กับชุมชน โรงเรียนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งที่เป็นสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยฯ ภายในรัศมี ๕๐ กิโลเมตร โดยนำองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative economy)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
2. เพื่อศึกษารวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของจังหวัดลำปางเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากพืชท้องถิ่นทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอางสำหรับเด็ก ให้กับชุมชน โรงเรียนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งที่เป็นสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่
4. เพื่อให้สมาชิกในโครงการรู้ถึงวิธีการอนุรักษ์ และประโยชน์ของพันธุ์พืชในท้องถิ่น และสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์

ตัวชี้วัดการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

เชิงปริมาณ
1. มีจำนวนสมาชิกใหม่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) อย่างน้อย ๑ แห่ง
2. มีการนำผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางสำหรับเด็กที่ได้จากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ไปเผยแพร่ อย่างน้อย ๔ ประเภท (ผลิตภัณฑ์อาหาร ๒ ประเภท และ เครื่องสำอางสำหรับเด็ก ๒ ประเภท)
3. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงาน อย่างน้อย ๑ เล่ม

เชิงคุณภาพ
1. กลุ่มเป้าหมายฯ ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับ และมีความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
2. เจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู นักเรียน และประชาชนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของทรัพยากรของชุมชน/ชาติ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ มีค่าคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
3. เจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู นักเรียน และประชาชนในชุมชนสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
4. ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง ได้เผยแพร่นวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอางสำหรับเด็ก ภายใต้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนและระดับชาติ